ppppp

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

ความรู้เกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ.....


       อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter Connection Network หมายถึง เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน
         ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ต เป็นเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง โดยไม่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่น ๆ หรือ เลือกไปเส้นทางอื่นได้หลาย ๆ เส้นทาง
อ้างอิง

    อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน ถูกพัฒนามาจากโครงการวิจัยทางการทหารของกระทรวงกลาโหมของประเทศ สหรัฐอเมริกา คือAdvanced Research Projects Agency (ARPA) ในปี 1969 โครงการนี้เป็นการวิจัยเครือข่ายเพื่อการสื่อสารของการทหารในกองทัพอเมริกา หรืออาจเรียกสั้นๆ ได้ว่า ARPA Net ในปี ค.ศ. 1970 ARPA Net ได้มีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้นโดยการเชื่อมโยงเครือข่ายร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของอเมริกา คือ มหาวิทยาลัยยูทาห์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาบารา มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส และสถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และหลังจากนั้นเป็นต้นมาก็มีการใช้ อินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น
  สำหรับในประเทศไทย อินเทอร์เน็ตเริ่มมีการใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2530 ที่มหาวิยาลัยสงขลานครินทร์ โดยได้รับความช่วยเหลือจากโครงการ IDP (The International Development Plan) เพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถติต่อสื่อสารทางอีเมลกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นในออสเตรเลียได้ ได้มีการติดตั้งระบบอีเมลขึ้นครั้งแรก โดยผ่านระบบโทรศัพท์ ความเร็วของโมเด็มที่ใช้ในขณะนั้นมีความเร็ว 2,400 บิต/วินาที จนกระทั่งวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2531 ได้มีการส่งอีเมลฉบับแรกที่ติดต่อระหว่างประเทศไทยกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จึงเปรียบเสมือนประตูทางผ่าน (Gateway) ของไทยที่เชื่อมต่อไปยังออสเตรเลียในขณะนั้น
      ในปี พ.ศ. 2533 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของสถาบันการศึกษาของรัฐ โดยมีชื่อว่า เครือข่ายไทยสาร (Thai Social/Scientific Academic and Research Network : ThaiSARN) ประกอบด้วย มหาวิยาลัยสงขลานครินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตภายในประเทศ เพื่อการศึกษาและวิจัย
     ในปี พ.ศ. 2538 ได้มีการบริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ขึ้น เพื่อให้บริการแก่ประชาชน และภาคเอกชนต่างๆ ที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยมีบริษัทอินเทอร์เน็ตไทยแลนด์ (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider: ISP) เป็นบริษัทแรก เมื่อมีคนนิยมใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตจึงได้ก่อตั้งเพิ่มขึ้นอีกมากมาย






เราจะเชื่อมต่อกับอินเทอเน็ตได้อย่างไร
1.อุปกรณ์
    1.1) คอมพิวเตอร์
    1.2) โมเด็ม (Modulator Demodulator Machine)โมเด็มคืออุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่ได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปเป็นสัญญาณไฟฟ้ารูปแบบหนึ่ง (Impulse) ซึ่งสามารถส่งผ่านสายโทรศัพท์ทั่วไปได้ซึ่งสัญญาณโทรศัพท์นั้นจะเป็นสัญญาณอนาล๊อกส่วนสัญญาณข้อมูลที่มาจากคอมพิวเตอร์จะเป็นสัญญาณ ดิจิตอลทำให้ต้องใช้ โมเด็มในการแปลงสัญญาณอนาล๊อกเป็นดิจิตอลและดิจิตอลเป็นอนาล๊อกก่อน โมเด็มสามารถแยกได้เป็น 3 ชนิด แต่ละชนิดก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปดังนี้
  • โมเด็มแบบติดตั้งภายใน โมเด็มชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกนำมาติดตั้งเข้ากับภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง รูปร่างจะแตกต่างกันตามที่ผู้ผลิตจะออกแบบมาสำหรับคอมพิวเตอร์ชนิดนั้นๆโมเด็มชนิดนี้จะใช้ไฟฟ้าจากพาวเวอร ์ซับพายที่มันต่ออยู่ทำให้เราไม่ต้องต่อไฟหม้อแปลงต่างหากจากภายนอก ส่วนมากโมเด็มติดตั้งภายในจะทำการติดตั้งผ่านทาง Port อนุกรม RS-232C รวมอยู่ด้วย ทำให้ไม่มีปัญหาในเรื่อง port อนุกรมรุ่นเก่าที่ติดมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ การเชื่อมต่อโมเด็มกับเครื่องคอมพิวเตอร์จะต่อทาง slot มาตรฐานในเครื่องคอมพิวเตอร์และเมื่อติดตั้งแล้วจะไม่เปลืองเนื้อที่ภายนอกใดๆ เลย และโมเด็มสำหรับติดตั้งภายในจะมีจุดให้ผู้ใช้เสียบสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็มโดยใช้ปลั๊กโทรศัพท์ธรรมดา แบบ RJ-11 และมีลำโพงประกอบด้วย
  • โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก จะมีลักษณะเป็นกล้องสี่เหลี่ยมแบนๆภายในมีวงจรโมเด็มไฟสถานะและลำโพง เนื่องจากต่อภายนอกจึงต้องมี adapter แปลงสัญญาณก่อนและจะมีสายต่อแบบ 25 ขา DB25 เอาไว้ใช้เชื่อมต่อผ่านทาง port อนุกรม RS - 232C 1
  • PCMCIA (Personal Computer Memory Card International Asociation) จะเป็นโมเด็มที่มีขนาดเล็ที่สุดคือ มีขนาดเท่าบัตรเครดิตรอละหนาเพียง 5 มิลเท่านั้นซึ่งโมเด็มชนิดนี้ออกแบบมาโดยให้คอมพิวเตอร์โน๊ตบุคโดย เฉพาะซึ่งในปัจจุบันโมเด็มชนิดนี้จะมีความเร็วพอๆ กับโมเด็มที่ติตตั้งภายนอกและภายใน ในปัจจุบันนี้โมเด็มมีความเร็วสูงสุดที่ 56Kbps(Kilobyte per second)โดยจะใช้มาตรฐาน V.90 เป็นตัวกำหนด
IP address

ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนต้องเกี่ยวข้องกับไอพีแอดเดรส อย่างน้อย พีซีที่ต่ออยู่กับอินเทอร์เน็ตต้องมีการกำหนดไอพีแอดเดรส
คำว่าไอพีแอดเดรส จึงหมายถึงเลขหรือรหัสที่บ่งบอก ตำแหน่งของเครื่องที่ต่ออยู่บน อินเทอร์เน็ต เช่นเครื่อง nontri.ku.ac.th เป็นเมล์ เซิร์ฟเวอร์และคอมมูนิเคชันเซิร์ฟเวอร์ของมหาวิทยาลัย มีหมายเลขไอพี 158.108.2.71
ตัวเลขรหัสไอพีแอดเดรสจึงเสมือนเป็นรหัสประจำตัวของเครื่องที่ใช้ ตั้งแต่พีซี ของผู้ใช้จนถึงเซิร์ฟเวอร์ให้บริการอยู่ทั่วโลก ทุกเครื่องต้องมีรหัสไอพีแอดเดรสและต้องไม่ซ้ำกันเลยทั่วโลก
ไอพีแอดเดรสที่ใช้กันอยู่นี้เป็น ตัวเลขไบนารีขนาด 32 บิตหรือ 4 ไบต์

 


http://torauk.freeservers.com/wireinter.htm

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

ความรู้เกี่ยวกับ Search engine

search engineคืออะไร


 

      เสิร์ชเอนจิน (search engine) หรือ โปรแกรมค้นหา และคือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย. เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิล จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป

ความสำคัญของ search engine
            เสิร์ชเอนจินถือเป็นเครื่องมือใหม่ในการสืบค้นหาข้อมูลต่างๆบนโลกออนไลน์โดยเสิร์ชเอนจินทำงานอยู่บนเว็ปไซต์ค้นหาทั้งหลายเช่น Google,Yahoo,Msn เป็นต้นซึ่งในเว็ปไซต์เหล่านี้จะมีโปรแกรมค้นหาRobot ซึ่งข้อมูลที่ค้นหาต้องมีปรากฎอยู่ในฐานะข้อมูลของเว็ปไซต์ค้นหานั้นๆจึงจะหาพบซึ่งผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจะทราบดีถึงวิธีการค้นหาข้อมูลต่างๆและผู้คนทั่วโลกก็นิยมค้นหาข้อมูลหรือเสิร์ชเอนจินผ่านเว็ปไซต์ค้นหามากขึ้นแบบก้าวกระโดดไม่ว่าจะหาอะไรก็หาเจอถ้าข้อมูลนั้นๆถูกนำมาจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลของเว็ปไซต์ค้นหา ดังนั้นเราจึงเห็นเว็ปไซต์แต่ละค่ายจึงต้องทำเสิร์ชเอนจินให้เว็ปไซต์ของตัวเองติดอันดับต้นๆในฐานะข้อมูลของเว็ปไซต์เสิร์ชเอนจินอย่างGoogleซึ่งถือว่าเป็นเว็ปไซต์ค้นหาอันดับหนึ่งของโลกที่มีผู้คนคนหามากที่สุดการค้นหาข้อมูลในเว็ปไซต์เสิร์ชเอนจินต้องใช้คีย์เวิร์ดซึ่งคีย์เวิร์ดที่ให้เป็นภาษาอะไรก็ได้ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศของเขตแดน
     ดังนั้นเสิร์ชเอนจินจึงมีความสำคัญมากๆสำหรับทุกๆเว็ปไซต์ที่ต้องการให้เว็ปไซต์ของตัวเองค้นหาได้ง่ายขึ้นเพื่อให้มีผู้เข้ามาเยี่ยมชมเพิ่มมากขึ้น โอกาสของธุรกิจก็จะมากขึ้นไปด้วยเสิร์ชเอนจินจึงมีความสำคัญและบทบาทเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆและรวดเร็วประเภทว่าเสิร์ชเอนจินโตแบบก้าวกระโดดก็ว่าได้
ประโยชน์ของเสิร์ชเอนจิน
1.ได้ลุกค้าและขายสินค้าได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
2.ไม่ต้องเสียค่าโฆษณาเป็นรายเดือนเหมือนสมัยก่อน
3.ลูกค้าเข้าขายได้ง่ายขึ้น ด้วยคีย์เวิร์ดต่างๆที่เราตั้งไว้
4.ปรับแต่ได้ง่ายและรวดเร็ว
5.เป็นบริการที่ฟรี

รายชื่อเสิร์ชเอนจินเรียงลำดับตามความนิยม
สัดส่วนของผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกา
1.                กูเกิล (Google) 49.2%
2.                ยาฮู(Yahoo!) 23.8%
3.                เอ็มเอสเอ็น (MSN ) 9.6%
4.                เอโอแอล (AOL) 6.3%
5.                อาส์ก (Ask) 2.6%
6.                อื่นๆ 8.5%
เสิร์ชเอนจินอื่นๆ
·                   ไป่ตู้ (Baidu) เสิร์ชเอนจิน อันดับ 1 ของประเทศจีน
·                   Cuil
·                   ยานเดกซ์ (Yandex) เสิร์ชเอนจิน อันดับ 1 ของรัสเซีย
เสิร์ชเอนจินในอดีตที่ยกเลิกการใช้งานแล้ว
·                   ฮอตบอต (HotBot)
·                   แอลตาวิสตา (Alta Vista)
·                   ไลคอส (Lycos)
ในประเทศไทยมีการพัฒนาเครื่องมือค้นหาของไทยในชื่อ สรรสาร พัฒนาโดยเนคเทค
ประเภทของเครื่องมือค้นหา
           Catalog based search engine เป็นโปรแกรมสืบค้นข้อมูลในอินเทอร์เน็ตชนิดหนึ่ง โดยโปรแกรมจะรวบรวม และแยกจัดเก็บเว็บไว้ในฐานข้อมูลตามประเภทหัวข้อของเว็บ เมื่อผู้ใช้มาค้นหา ก็จะสามารถเข้าไปดูตามหัวข้อต่าง ๆ แล้วดูหัวข้อย่อย ๆ เข้าไปอีกจนกว่าจะเจอหัวข้อหรือเรื่องที่ต้องการ ตัวอย่าง catalog based search engine คือ Yahoo เป็นต้น ซึ่งจะต่างกับ query based search engine ที่จะต้องพิมพ์คำค้นหาเพื่อตรวจสอบกับฐานข้อมูลว่ามีข้อมูลนี้หรือไม่ ถ้ามีก็จะแสดงรายชื่อออกมา
หลักการทำงานของเสิร์ชเอนจิน
  การตรวจค้นหาข้อมูลในเว็บเพจต่างๆ
  ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลที่ได้ทำการตรวจค้นไว้ในฐานข้อมูล
  การแสดงผลการค้นหาข้อมูล
แหล่งข้อมูลอื่น
เสิร์ชเอนจินมาเก็ตติ้ง
อ้างอิง
1.                ^ ศัพท์บัญญัติคำว่า search engine คือ โปรแกรมค้นหา ชื่อในศัพท์บัญญัติ ข้อมูล ณ วันที่ 20 มิ.ย. 2551
2.                ^ สัดส่วนผู้ใช้งานเสิร์ชเอนจิน ข้อมูลจากเสิร์ชเอนจินวอตช์ ปี 2548
3.                ^ Where Google Isn't Goliath BusinessWeek

วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

ความรู้เกี่ยวกับ พรบ. คอมพิวเตอร์


ความรู้เกี่ยวกับ พรบ.คอมพิวเตอร์

“พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิ วเตอร์ พ.ศ.2550” ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 นับได้ว่าเป็นที่จับตามองและมีความสำคัญอย่างมากในทุ กวงการ เพราะปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทและเป็นส่ว นหนึ่งในชีวิตประจำวัน ของเราไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ภาครัฐ เอกชน คนทำงาน นิสิต นักศึกษา ก็ล้วนเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องศึกษาข้อมูลและทำความ เข้าใจเกี่ยวกับพ .ร.บ.ฉบับนี้ และเตรียมพร้อมรับมือ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ และให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยของเราเป็นไปใ นทางที่สร้างสรรค์

ความผิดที่เข้าข่าย

การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ
  1. การเปิดเผยข้อมูลมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิว เตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ
  2. การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
  3. การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
  4. การทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
  5. การกระทำเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื ่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
  6. การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ข องคนอื่นโดยปกติสุข
  7. การจำหน่ายชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นเคร ื่องมือในการกระทำความผิด
  8. การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำความผิดอื่น ผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำควา มผิด
  9. การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของบุคคล
  10. เหล่านี้ถือว่าเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ. ฉบับนี้
สำหรับผู้ให้บริการตามที่พ.ร.บ.นี้ได้ระบุไว้ สามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้1. ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมไม่ว่าโดยระบบโทรศัพท์ ระบบดาวเทียม ระบบวงจรเช่าหรือบริการสื่อสารไร้สาย
2. ผู้ให้บริการการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไม่ว ่าโดยอินเทอร์เน็ต ทั้งผ่านสายและไร้สาย หรือในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในที่เรียกว่อินเท อร์เน็ต ที่จัดตั้งขึ้นในเฉพาะองค์กรหรือหน่วยงาน
3. ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ หรือให้เช่าบริการโปรแกรมประยุกต์ (Host Service Provider)
4. ผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่าน application ต่างๆ ที่เรียกว่า content provider เช่นผู้ให้บริการ web board หรือ web service เป็นต้น

ในกรณีนี้ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูล 2 ประเภท โดยแบ่งตามรูปแบบได้ ดังนี้

1. “ข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์” ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ที่บอกถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง วันที่ เวลา ปริมาณ ระยะเวลา ชนิดของบริการหรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จะต้องเก็บไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นๆ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการเก็ บข้อมูลนั้นๆ ไว้ เกิน 90 วัน แต่ไม่เกิน 1 ปี เป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้
2. ข้อมูลของผู้ใช้บริการทั้งที่เสียค่าบริการหรือไม่ก็ ตาม โดยต้องเก็บข้อมูลเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตั วผู้ใช้บริการได้ ไม่ว่าจะเป็นชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน USERNAME หรือ PIN CODE และจะต้องเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน นับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง
 
ข้อดี - ข้อเสีย พ.ร.บ.กระทำผิดคอมพิวเตอร์

            
       ++คปส.ชี้ ก.ม.ผ่านสภาเร็วไป
  ภายหลังจากประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่องหลักเกณฑ์การจัดเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ หรือ ล็อกไฟล์ (Log File) ซึ่งเป็นกฎหมายลูกที่ตามออกมาภายหลังการบังคับใช้พระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2550 นี้ ยังเกิดความคิดเห็นแตกต่างกันออกเป็น 2 ขั้ว

   ขั้วหนึ่งมองว่าพรบ.ดังกล่าวจะกระทำกับสิทธิส่วนบุคคล โดยเฉพาะองค์กรปฏิรูปสื่อ ขณะที่อีกขั้วหนึ่ง ฝั่งผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ตมองว่าพรบ.ดังกล่าวจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นในการใช้งานอินเตอร์เน็ต 


        นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ(คปส.) กล่าวว่า รู้สึกกังวลกับการที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที.จะออกกฎกระทรวงเรื่องหลักเกณฑ์การจัดเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ หรือ ล็อกไฟล์ (Log File) ซึ่งเป็นกฎหมายลูกของพระราชบัญญัติการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 โดยมีความกังวลตั้งแต่การผลักดันพระราชบัญญัติการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ผ่านสภาออกมาแล้ว

โดยเล็งเห็นว่าเป็นกฎหมายที่ออกมารวดเร็วเกินไปโดยที่สังคมยังไม่ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันให้ได้ข้อยุติอย่างทั่วถึง ที่มาและบรรยากาศทางการเมืองที่เป็นอยู่ การเร่งรัดให้ออกกฎหมายนี้มาบังคับใช้ แม้ทางการจะอ้างว่าเพื่อป้องกันปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นบนโลกไซเบอร์ แต่สังคมส่วนใหญ่เชื่อว่ามาจากแรงจูงใจด้านการเมืองโดยอ้างความมั่นคงเป็นหลักมากกว่า
แม้ทางไอซีที.จะบอกว่าในการบังคับให้ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตต้องบันทึกข้อมูลการรับ-ส่งข้อมูลไว้ให้ตรวจสอบอย่างน้อย 90 วัน โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับเนื้อหาหรือตัวข้อมูลก็ตาม แต่ในมาตรา 12-13 ของพ.ร.บ.การทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ก็ระบุถึงตัวข้อมูล(Content) อยู่ด้วย และเมื่อเริ่มต้นจากการคุมข้อมูลการรับส่ง ต่อไปก็อาจขยายไปสู่การตรวจสอบเนื้อหา ตรวจสอบผู้รับ-ส่ง เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นแนวโน้มที่น่าเป็นห่วง
อีกทั้งยังอาจส่งกระทบไปถึงสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน และอาจลึกไปถึงสิทธิส่วนบุคคลในอนาคต โดยหลายเรื่องยังน่ากังวล และกระทบต่อบรรยากาศการติดต่อสื่อสารของประชาชนบนโลกไซเบอร์ซึ่งมีลักษณะพิเศษของความเป็นสื่อใหม่ที่เราอาจจะไม่คุ้นเคย แต่ก็น่าจะได้เรียนรู้ ศึกษา และแลกเปลี่ยนกันให้กว้างขวางก่อนจะออกกฎหมายมาบังคับใช้
"ตอนจะออกกฎหมายนี้มาบังคับใช้ รัฐมนตรีไอซีที.ก็บอกว่า ต่อไปการดูแลเว็บไซต์จะเป็นหน้าที่ของศาล บอกว่าที่ต้องรีบออกมาเพื่อป้องกันปัญหาอาชญากรรม แต่ที่ผ่านมาก็พบว่าในความสนใจในการติดตามตรวจสอบและปิดกั้นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาความคิดเห็นทางการเมืองที่ต่อต้านรัฐบาลหรือผู้มีอำนาจ มากกว่าที่จะไปใส่ใจปัญหาเว็บการพนันหรือเว็บโป๊"

 ++หวั่นกระทบสิทธิเสรีภาพสื่อสาร
นางสาวสุภิญญา ยืนยันว่า ไม่ได้ปฏิเสธการที่จะต้องมีข้อบังคับหรือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารทางไซเบอร์ แต่เนื่องจากเป็นสื่อใหม่ที่เปิดให้มีการไหลเวียนความคิดเห็นอย่างเสรีและกว้างขวางที่สุด ก่อนจะออกกฎหมายมาคุมน่าจะได้แลกเปลี่ยนกันให้ถึงที่สุดก่อน เพื่อให้ได้ข้อยุติว่าสังคมนี้จะยอมรับเรื่องสิทธิเสรีภาพการติดต่อสื่อสารแค่ไหน จะควบคุมไม่ให้ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลในระดับใดเสียก่อน
ส่วนคนที่ละเมิดนั้นเวลานี้มีกฎหมายหมิ่นประมาทใช้คุ้มครองได้ สำหรับบุคคลสาธารณะก็ต้องยอมรับการถูกวิพากษ์วิจารณ์ รวมทั้งสังคมโดยรวมก็ต้องพัฒนาความอดทนในการรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง มีวุฒิภาวะในการรับข้อมูลข่าวสารมากขึ้นพร้อมกันไปด้วย แต่เวลานี้รัฐบาลเข้ามาตัดสินใจให้หมดและให้น้ำหนักกับเรื่องความมั่นคงเป็นหลัก เกรงว่ายิ่งออกระเบียบคุมมากขึ้นจะยิ่งเกิดแรงต้าน
นอกจากนี้แล้วยังมีความเป็นห่วงความพยายามที่จะผลักดันกฎหมายในลักษณะเดียวกันนี้อีกหลายฉบับให้ผ่านสภานิติบัญญัติโดยเร็ว ซึ่งหลายคนมีความปรารถนาดีเพื่อให้มีกฎหมายออกมาบังคับใช้ แต่ห่วงว่าจะซ้ำรอยกฎหมายการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์นี้ จึงจะแถลงคัดค้านการเร่งผลักดันกฎหมาย 3 ฉบับคือ ร่างพ.ร.บ.ภาพยนตร์ ร่างพ.ร.บ.กิจการวิทยุโทรทัศน์ และร่างพ.ร.บ.ความมั่นคง ว่า ขอให้ชะลอไว้ก่อน รอสภาที่มาจากการเลือกตั้งในสมัยหน้าค่อยหยิบมาพิจารณาจะดีกว่า เพราะกฎหมายเมื่อออกมาบังคับใช้แล้วแก้ไขยากและมีผลต่อเนื่องในระยะยาว ควรต้องทำอย่างรอบคอบ

 ++แนะไอซีทีเร่งให้ความรู้
นายปริญญา หอมเอนก คณะกรรมการเตรียมการเพื่อดำเนินการตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร หรือไอซีที กล่าวว่า พระราชบัญญัติการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ที่จะมีผลบังคับใช้วันที่ 18 กรกฎาคมนี้ ส่งผลกระทบวงกว้าง โดยต่อไปองค์กรที่มีการใช้งานคอมพิวเตอร์ก็ถือเป็นการให้บริการคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร .ซึ่งก็ต้องเก็บข้อมูลล็อก ไฟล์ ไว้ทั้งหมด หรือ ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ต่อไปต้องให้ลูกค้า บริการบัตรเติมเงินหรือพรีเพดลงทะเบียน โดยผู้ใช้บริการโทรศัพท์ระบบพรีเพด ก็มีลูกค้าที่ใช้บริการรับ-ส่งข้อมูลผ่านโครงข่ายจีพีอาร์เอส"
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร หน่วยงานภาครัฐและโรงเรียน ที่มีการใช้งานคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็ถือว่ามีคอมพิวเตอร์เพื่อให้บริการเหมือนกัน ก็จำเป็นต้องเก็บข้อมูลล็อกไฟล์ เอาไว้ ซึ่งกระทรวงไอซีที จะต้องเร่งประชาสัมพันธ์ และสร้างความเข้าใจ ต้องมีแนวปฏิบัติหรือ ไกด์ไลน์ การเก็บข้อมูลให้ โดยต้องอธิบายให้ชัดเจนว่ากฎหมายดังกล่าวให้เก็บข้อมูลที่จำเป็นเท่านั้นไม่ได้เก็บข้อมูลทั้งหมด อีกทั้งต้องออกกฎกระทรวง ระยะเวลาการอนุโลมการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อให้ทุกภาคส่วนเตรียมพร้อม ซึ่งขณะนี้กำลังพิจารณากันอยู่ว่าจะมีช่วงระยะเวลาอนุโลม 6 เดือน หรือ 1 ปี
++วงการเน็ตเชื่อกม.กระตุ้นยอดผู้ใช้
ด้านนางมรกต กุลธรรมโยธิน นายกสมาคมผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตไทย กล่าวว่า พรบ.ดังกล่าวจะช่วยให้โลกอินเตอร์เน็ต ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไปและช่วยดึงดูดให้คนเข้ามาใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้น แต่ที่รู้สึกกังวลคือ พรบ. ดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้วันที่ 18 กรกฎาคมนี้ แต่ยังขาดการประชาสัมพันธ์ การเร่งสร้างความเข้าใจกับองค์กรต่างๆ ที่ต้องปฏิบัติตามพรบ.ดังกล่าว
โดยผู้ที่ต้องปฎิบัติตาม พรบ.ดังกล่าวนั้น ไม่ใช่เฉพาะแค่ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต หรือผู้ให้บริการเว็บไซต์ แต่รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ , องค์กรที่มีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตให้บริการกับพนักงาน หรือแม้แต่สื่อเอง ก็มีเว็บไซต์หรือมีบล็อกแสดงความคิดเห็น ก็ต้องจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกัน แต่ส่วนใหญ่ยังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูล
ขณะที่นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผุ้จัดการ บริษัทตลาดดอตคอม จำกัด ผู้ให้บริการเว็บไซต์ซื้อขายสินค้า www.tarad.com และซื้อขายสินค้ามือสอง www.thaisecondhand.com กล่าวว่า พรบ.การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 จะช่วยให้สร้างความมั่นใจในการซื้อขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ต หรืออย่างน้อยเมื่อเกิดปัญหาการซื้อขายเกิดขึ้นก็มีเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจและรู้เรื่องมาดำเนินการ ต่างจากในอดีตที่เกิดปัญหาขึ้นเจ้าหน้าที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลย
อย่างไรก็ตามยังเป็นห่วงบริษัททั่วไป ๆ หรือเอสเอ็มอี ที่มีคอมพิวเตอร์ใช้งาน เพราะเชื่อว่าพวกนี้ยังไม่รู้ว่าต้องเก็บข้อมูล หากรู้ก็ไม่รู้ว่าจะเก็บยังไง ซึ่งภาครัฐจะต้องให้ความรู้กับกลุ่มเหล่านี้อย่างเร่งด่วน อย่างไรก็ตามในฐานะที่บริษัทเป็นผู้ให้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-คอมเมอร์ซ

 ++ร้านเน็ตหวั่น ก.ม.ให้อำนาจไอซีที
นายสายัณห์ เอี่ยมศรีปลั่ง ทนายสมาคมผู้ประกอบการร้านอินเตอร์เน็ต กล่าวว่าโดยภาพรวมของพระราชบัญญัติดังกล่าวถือเป็นกฎหมายที่ดี แต่ในเรื่องของการจัดเก็บการข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ เพิ่มภาระให้กับผู้ประกอบการร้านอินเตอร์เน็ต รวมถึงทุกภาคส่วนที่มีการใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแน่นอน
ขณะเดียวกันกลุ่มผู้ประกอบการร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ ยังไม่เห็นด้วยกับกฎหมายดังกล่าวในมาตรา 4 ที่ระบุให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารรักษาการตามพระราชบัญญัติดังกล่าวและให้อำนาจในการออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติตามพรบ.ดังกล่าว เนื่องจากที่ผ่านมากระทรวงไอซีที ออกกฎหรือประกาศมา โดยไม่มีความเข้าใจการดำเนินธุรกิจ และการถามความคิดเห็นจากผู้ประกอบการ ซึ่งคาดว่าภายหลังจากประกาศกระทรวงออกมา ผู้ประกอบการร้านอินเตอร์เน็ต จะต้องมีการขึ้นทะเบียน และต้องขอจดทะเบียน ทั้งที่กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงไอซีที
ผลกระทบ พ.ร.บ.ความผิดทางคอมพิวเตอร์


เรื่องราวเกี่ยวกับพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับ
คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ฉบับใหม่เอี่ยมของประเทศไทย เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ไม่เฉพาะแต่คนที่อยู่ในแวดวงไอซีที และคอมพิวเตอร์เท่านั้น คนที่อยู่นอกวงการก็ควรได้มีการศึกษา เรียนรู้ในเรื่องนี้ด้วย เนื่องจากในปัจจุบันนี้ เราเข้ามาเกี่ยวข้องกับไอซีที และคอมพิวเตอร์มากขึ้น มากขึ้น จนเกือบกล่าวได้ว่าจะกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา ทั้งในด้านการทำงาน และความบันเทิง


ฉะนั้น การได้มีโอกาสอ่าน และศึกษาเรียนรู้ไว้ จะช่วยให้เราไม่ไปกระทำความผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการ ลองอ่านบทความนี้ดู เรื่อง "ผลกระทบ พ.ร.บ.ความผิดทางคอมพิวเตอร์" เขียนโดย ผศ.ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล ที่เขียนไว้ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ เราจะได้รับรู้ในอีกแง่มุนหนึ่งของ พ.ร.บ.ฉบับนี้


ความรู้เรื่องบล็อก

Blog คืออะไร

                        มารู้จักความหมาย ของประโยคคำถาม ที่มักจะมีคนถามผมบ่อย ๆ เวลาไปบรรยายตามที่ต่าง ๆ ว่า “Blog คืออะไร” กันดีกว่าครับ

 
      Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำ ๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog)

ความหมายของคำว่า Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง

มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเภท ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่ หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ เนื้อหาบล็อกประเภท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมานั่นเอง อีกทั้งยังสามารถ แตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่าง ๆ อีกมากมาย ตามแต่ความถนัดของเจ้าของบล็อก ซึ่งมักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด หรือสนใจเป็นต้น
    
       จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง

ในอดีตแรกเริ่ม คนที่เขียน Blog นั้นยังทำกันในระบบ Manual คือเขียนเว็บเองทีละหน้า แต่ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ให้เราใช้ในการเขียน Blog ได้มากมาย เช่น WordPress, Movable Type เป็นต้น
ผู้คนหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก หันมาเขียน Blog กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นักเรียน อาจารย์ นักเขียน ตลอดจนถึงระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น NasDaq
เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา Blog เริ่มต้นมาจาก การเขียนเป็นงานอดิเรก ของกลุ่มสื่ออิสระต่าง ๆ หลาย ๆ แห่งกลายเป็นแหล่งข่าวสำคัญ ให้กับหนังสือพิมพ์หรือสำนักข่าวชั้นนำ จวบจนกระทั่งปี 2004 คนเขียน Blog ก็ได้รับการยอมรับจากสื่อและสำนักข่าวต่าง ๆ ถึงความรวดเร็วในการให้ข้อมูล ตั้งแต่เรื่องการเมือง ไปจนกระทั่ง เรื่องราวของการประชุม ระดับชาติ
และจากเหตุการณ์เหล่านี้ นับได้ว่า Blog เป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ไม่ต่างจาก วีดีโอ , สิ่งพิมพ์ , โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งวิทยุ เราสามารถเรียกได้ว่า Blog ได้เข้ามาเป็นสื่อชนิดใหม่ ที่สำคัญอย่างแท้จริง

       สรุปให้ง่าย ๆ สั้น ๆ ก็คือ Blog คือเว็บไซต์ ที่มีรูปแบบเนื้อหา เป็นเหมือนบันทึกส่วนตัวออนไลน์ มีส่วนของการ comments และก็จะมี link ไปยังเว็บอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
อ่านจบบทความนี้ คิดว่าหลาย ๆ ท่านน่าจะเข้าใจว่า Blog คืออะไร เพิ่มขึ้นมากแล้วนะครับ